วิธีรักษาสิว สเตอรอยด์ สิวสเตอรอยด์ คือสิวที่เกิดจากการแพ้สารเคมีที่มีส่วนผสมของสเตอรอยด์ เมื่อใช้ไปนานๆร่างกายเกิดการต่อต้านทำให้เกิดผื่นคันและมีสิวอักเสบ ซึ่งหากใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสเตอรอยด์เป็นเวลานานจะให้ภูมิต้านทาน ของร่างกายมีปัญหา ทำให้แพ้ง่ายและมีผดผื่นขึ้นตามใบหน้า และหากมีการสะสมในร่างกายมากเกินไปจะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้
สเตียรอยด์ (Steroid) เป็นชื่อเรียกโดยย่อของกลุ่มยาที่มีชื่อเต็มว่า corticosteroid ยา กลุ่มนี้มีฤทธิ์และข้อบ่งใช้มากมาย สามารถใช้ในโรคหรือภาวะต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย แต่สิ่งที่ทำให้ยากลุ่มนี้เป็นที่รู้จักมากที่สุดกลับเป็นผลเสียที่เกิดจาก การใช้ steroid อย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้หลายคนกลัวและปฏิเสธที่จะใช้ยากลุ่มนี้ ยากลุ่มสเตียรอยด์สามารถแบ่งตามรูปแบบของการใช้ยาได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้1. สเตียรอยด์ประเภทใช้ภายนอก มีตัวสเตียรอยด์ที่ใช้เป็นยาภายนอกหลายสิบชนิดด้วยกัน แต่สามารถแบ่งตามรูปแบบของยาและตัวอย่างของโรคที่ใช้ได้เป็น
- ยาทา (ทั้งในรูปครีม โลชัน ขึ้ผึ้ง) สำหรับรักษาผื่นแพ้ ลมพิษ ผิวหนังอักเสบ สะเก็ดเงิน
- ยาหยอดตา ยาป้ายตา ยาหยอดหู สำหรับรักษาภูมิแพ้หรืออักเสบที่ตาและหู
- ยาพ่นจมูก สำหรับรักษาโรคภูมิแพ้ที่มีอาการทางจมูก ริดสีดวงจมูก
- ยาพ่นคอ สำหรับรักษาโรคหืด ภูมิแพ้ที่ทำให้เกิดอาการหอบ
2. สเตียรอยด์ประเภทกินและฉีด ถึงแม้จะมีสเตียรอยด์ประเภท ใช้ภายนอกมากมาย แต่การรักษาโรคหรือภาวะบางอย่าง จำเป็นต้องใช้ยากินหรือยาฉีดเท่านั้น เช่น อาการแพ้บางชนิด โรคหืดชนิดรุนแรง โรคภูมิคุ้มกันไวเกิน ผู้ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ เป็นต้น เช่นเดียวกับยาใช้ภายนอก ถ้ากินหรือฉีดยาสเตียรอยด์ในขนาดน้อยๆ เพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ มักไม่ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง แต่ถ้ากินหรือฉีดต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะก่อให้เกิดผลเสียที่รุนแรงหลายประการด้วยกัน ได้แก่ ติดเชื้อโรค (ยากดการทำงานของภูมิคุ้มกันในร่างกาย) เป็นเบาหวาน (ยาทำให้น้ำตาลในเลือดสูง) บวมและความดันโลหิตสูง (ยาทำให้ขับน้ำลดลง แต่เพิ่มการสะสมไขมันที่หน้า หลังและท้อง) กระดูกพรุน (ยารบกวนสมดุลการสร้างกระดูก) รวมทั้งเป็นแผลในทางเดินอาหาร ผิวหนังเหี่ยวย่นและบาง ตาเป็นต้อ การทำงานของต่อมหมวกไตผิดปกติ รบกวนการเจริญเติบโตในเด็ก เป็นต้น จะเห็นได้ว่าวิธีการใช้ยาสเตียรอยด์เป็นสิ่งสำคัญซึ่งผู้ใช้ยาจะต้องคำนึง ถึงมากที่สุด ว่าจะต้องใช้จำนวนมากน้อยเท่าใด ใช้ด้วยความถี่กี่ครั้งและใช้ต่อเนื่องนานเท่าใด เพราะเมื่อใดที่ใช้มากเกินกว่าที่ควร จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่ได้กล่าวมาทั้งหมด ทันที ประเด็นสุดท้ายและเป็นที่มาของอาการไม่พึงประสงค์จากสเตียรอยด์ที่สำคัญที่สุดคือ “การได้รับยาสเตียรอยด์โดยไม่รู้ตัว” ไม่ว่าจะเป็นจากยาชุด ยาลูกกลอน ยาสูตรสมุนไพร ยาต้ม ยาหม้อ ยาพระ รวมทั้งยาที่อวดอ้างสรรพคุณในการรักษาได้สารพัดโรค เนื่องจากยาเหล่านี้มักจะมีส่วนผสมของยาในกลุ่มสเตียรอยด์อยู่ ทำให้เห็นผลในการบรรเทาทุกอาการได้อย่างรวดเร็วโดยที่ไม่พบอาการไม่พึง ประสงค์ใดๆ ผู้ใช้ยาจึงมักรู้สึกพึงพอใจกับผลของยา โดยไม่ได้มุ่งรักษาที่สาเหตุของโรคโดยตรง แต่ยิ่งใช้ยาต่อเนื่องเป็นเวลานานมากขึ้นเท่าใด อาการไม่พึงประสงค์ของ steroid ก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น พร้อมกับความรุนแรงของโรคที่มากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากไม่ได้รับการรักษาที่ตรงสาเหตุอย่างทันท่วงที จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาเหล่านี้โดยเด็ดขาด เอกสารอ้างอิง
- Bertram GK, eds. Basic and clinical pharmacology, 10th ed. New York: McGraw-Hill, 2007.
- Rang HP, Dale MM, Ritter JM, Moore PK. Pharmacology, 5th ed. Churchill Livingstone, 2003.
Credit : http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/142/
1. ใช้ครีมบำรุงผิวหน้าที่มีความอ่อนโยน เช่น สารสกัดจากเมือกหอยทากของEndocare ที่ช่วยในการบำรุงและฟื้นฟูผิวได้เป็นอย่างดี เนื่องจาก DNA ของหอยทากจะฟื้นฟูผิวหน้าที่ติดสารสเตรอยได้เป็นอย่างดี
2. ทำจิตใจให้สบายๆ อย่าวิตกกังวล เพราะความเครียดจะกระตุ้นฮอร์โมนให้ใบหน้าเกิดสิว ฟังเพลงในแนวที่ตนเองชอบหรือหากิจกรรมทำยามว่าง จะช่วยทำให้สภาพของจิตใจดีขึ้นได้
3. ควรพักผ่อนให้เพียงพอ นอนให้ได้วันละ 6-8ชั่วโมง และห้ามใช้มือบีบสิวเพราะจะทำให้เกิดการอักเสบขึ้นได้ ในระหว่างวันควรดื่มน้ำให้ได้วันละ 8 แก้วหรือ 2ลิตร เพื่อล้างสารพิษตกค้างออกจากร่างกาย จะช่วยทำให้สิวน้อยลงได้
4. เลิกใช้สารสเตรอย เมื่อเลิกใช้สารสเตรอยร่างกายจะฟื้นฟูผิวหนังที่โดนทำลายเอง ซึ่งอาจใช้เวลานานอยู่หลายเดือนขึ้นอยู่กับการดูและรักษาตนของแต่ละบุคคล เมื่อร่างกายปรับสมดุลของผิวหน้าให้ดีขึ้นแล้วก็ควรเลือกใช้เซรั่มบำรุงผิว หน้าที่มีสารสกัดจาก DNA เมือกหอยทาก เช่นผลิตภัณฑ์ล้างของEndocare เพราะDNA ของหอยทากมีความคล้ายกับคนมากที่สุดจึงทำให้ช่วยบำรุงและฟื้นฟูผิวได้เป็น อย่างดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น